Aller au contenu principal

โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์


โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์


โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนสตรีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2551 ได้ฉายานามว่าเป็น "โรงเรียนหมายเลขสอง" โดยผู้ที่เข้าเรียนจะเรียกว่า "พลเมืองหมายเลขสอง" โดยฉายานี้มีที่มาจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่บุตรี เผือดผ่องศึกษาอยู่


ประวัติโรงเรียน

  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2461 โรงเรียนเริ่มรับสมัครนักเรียนเป็นครั้งแรก หลังจากทำการปรับปรุง โรงเรียนอาชีวพาณิชยการวัดมหาพฤฒาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนพาณิชยการ แล้วเปลื่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม โดยขึ้นตรงต่อกรมสามัญศึกษา โดยรับนักเรียนที่มีอายุ 6 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง และให้นักเรียนชายที่อายุไม่เกิน 12 ปี เรียนอยู่ได้
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เปิดสอนครั้งแรก โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียน 109 คน อาจารย์ 3 คน และมี นางสุภาพ ตีระนันทน์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เพิ่มชั้นเรียนตามลำดับ จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงมัธยมปีที่ 8 แต่ต่อมาได้ทำการยุบชั้นมัธยมปีที่ 7 – 8 ตามแผนการศึกษาของชาติสมัยนั้น

พ.ศ. 2514 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

พ.ศ. 2518 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับสมาคมสตรีมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามเข้าอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยโรงเรียนได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโรงเรียนถึง 3 ครั้ง

    • ครั้งแรก 10 กันยายน พ.ศ. 2499 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเป็นการส่วนพระองค์
    • ครั้งที่สอง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานพิธีเปิดหอประชุมและอาคารเรียน
    • ครั้งที่สาม 1 มีนาคม พ.ศ. 2511 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฉลองครบ 50 ปี ของโรงเรียน

พ.ศ. 2539 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามความประสงค์ของกรมสามัญศึกษาเพื่อความเหมาะสม

พ.ศ. 2544 ได้เร่งพัฒนาทางด้านวิชาการ พร้อมกับการพัฒนาของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมเต็มที่ในการปฏิรูปการศึกษา โดยเร่งส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนสนับสนุนให้มีครูแกนนำ ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ ฯลฯ ตลอดจนการระดมสรรพกำลังจากชุมชนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนมีการเน้นการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน และพัฒนาครูอาจารย์ด้านทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักเรียนคิดและปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา

ผู้อำนวยการโรงเรียน

  1. นางสุภาพ ตีระนันท์ (พ.ศ. 2461-2486)
  2. นางเสนาะจิต สุวรรณโพธิ์ศรี (พ.ศ. 2486-2496)
  3. นางระเบียบ ลิมอักษร (พ.ศ. 2496-2497)
  4. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ (พ.ศ. 2497-2511)
  5. คุณหญิงสนองนาฏ จารุดิลก (พ.ศ. 2511-2525)
  6. นางวิเชียร สามารถ (พ.ศ. 2525-2533)
  7. นางสุมาลี รัตนปราการ (พ.ศ. 2533-2537)
  8. นางผ่องศรี เกษมสันต์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2537-2539)
  9. นางสมใจ ไกรยูรวงศ์ (พ.ศ. 2539-2541)
  10. นายประวิทย์ พฤทธิกุล (พ.ศ. 2541-2543)
  11. นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ (พ.ศ. 2543 - 2544)
  12. นางรัตนา เชาว์ปรีชา (พ.ศ. 2544 - 2551)
  13. นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ (พ.ศ. 2551 - 2554)
  14. นายธีระพงศ์ นิยมทอง (พ.ศ. 2554 - 2557)
  15. นางอาลัย พรหมชนะ (พ.ศ. 2557 - 2562)
  16. นางสาวระวีวรรณ เลขนาวิน (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

"พึงถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ประจำ ยึดมั่นในอุดมคติที่จะนำเหล่าหนึ่งในดอกบัวหลวง ให้ผุดพ้นสายธาร บานรับแสงรวีได้ในการต่อไป"


ความหมายของสีประจำโรงเรียน

กรมท่า ███ หมายถึง ความมั่นคง และความสงบสุข

ฟ้า ███ หมายถึง ความรุ่งโรจน์ และความสดใส


รายละเอียดภายในโรงเรียน

ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3( ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3)และช่วงชั้นที่ 4(ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)จัดการศึกษาเฉพาะนักเรียนหญิง มีเนื้อที่ 5 ไร่ 65.86 ตารางวา มีอาคารเรียนถาวรเป็นตึก 5 หลัง

อาคาร 1 ( ตึกโสณบัณฑิต ) อาคาร 4 ชั้น

อาคาร 2 ( ตึกพิทยลาภ ) อาคาร 4 ชั้น

อาคาร 3 ( ตึกศรีพฤฒา ) อาคาร 5 ชั้น

อาคาร 4 ( ตึกสมจิตต์ ) อาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุม ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร

อาคาร 5 ( ตึกคหกรรม ) อาคาร 4 ชั้น

อาคาร 6 ( อาคารรวมน้ำใจ ) อาคาร 4 ชั้น อาคารสร้างใหม่ปี พ.ศ. 2540

โรงเรียนมัธยมศึกษาใกล้เคียง

  • โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
  • โรงเรียนเทพศิรินทร์
  • โรงเรียนสายปัญญา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • สวลี ผกาพันธุ์ (ศิลปินแห่งชาติ)
  • รสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ปี 2551)
  • คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ (อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร)
  • วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ (นักสิทธิมนุษยชน)
  • กาญจนาพร ปลอดภัย (ดารา/นักแสดง)
  • สุภัชญา ลัทธิโสภณกุล (นักร้องวงไชน่าดอลล์)
  • เกศริน เอกธวัชกุล (ดารา/นักแสดง)
  • ลัคนา หวงมณีรุ่งโรจน์ (ดารา/นักร้อง/นักแสดง/ดีเจ)
  • อมีณา ศิริรัตน์อัสดร (นักร้อง)
  • ณปภา ตันตระกูล (ดารา/นักแสดง)
  • อังคณา ตรีรัตนาทิพย์ (นางสาวไทยปี2550)
  • บุตรี เผือดผ่อง (นักกีฬาเทควันโดโอลิมปิก)
  • สุวพิชญ์ ไตรพรวรกิจ (ดารา/นักแสดง)
  • สุทธาทิพย์ วุฒิชัยประดิษฐ์ (ดารา/นักแสดง)
  • ภาวดี คุ้มโชคไพศาล (ดารา/นักแสดง)
  • ธนาภา แซ่เล้า (นักกีฬาเทควันโดทีมชาติ)
  • ณัฐนิชา เชิดชูบุพการี (ดารา/นักแสดง)
  • นุชราวดี ไชยสิงห์ (นักวิ่งไอดอล)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ by Wikipedia (Historical)


Langue des articles



INVESTIGATION

Quelques articles à proximité