Aller au contenu principal

นางาซากิ


นางาซากิ


นางาซากิ (ญี่ปุ่น: 長崎市; โรมาจิ: Nagasaki-shi) () เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ เพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว"

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 นางาซากิเป็นเมืองที่สองถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ และเป็นเมืองสุดท้ายของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์จนถึงปัจจุบัน (ณ เวลา 11:02 นาฬิกาของวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 'เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (UTC+9)')

ข้อมูลเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2020 (2020 -06-01) นครนี้มีประชากรประมาณ 407,624 คน และมีความหนาแน่นประชากรที่ 1,004 คนต่อตารางกิโลเมตร นครนี้มีพื้นที่รวม 405.86 ตารางกิโลเมตร (156.70 ตารางไมล์)

ประวัติศาสตร์

ยุคกลางและยุคใหม่

นางาซากิ เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็ก และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อย จนกระทั่งได้เริ่มติดต่อกับนักสำรวจชาวโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1543 ซึ่งผู้นำของคณะสำรวจแรกนั้น คือ เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต ที่เดินทางมาด้วยเรือโดยเทียบท่าใกล้ ๆ กับทาเนงาชิมะ เกาะในหมู่เกาะโอซูมิ

โปรตุเกสนั้นได้ออกสำรวจโลกและค้าขายกับชาติต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ จีน ซึ่งก่อนหน้าที่โปรตุเกสจะเข้ามา ญี่ปุ่นได้หยุดการค้าขายกับจีนอันเนื่องมาจากการปล้นชิงทรัพย์ที่บ่อยครั้งของโจรสลัด วอโก้ว ในทะเลจีนใต้ การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้โปรตุเกสสามารถเป็นตัวกลางด้านการค้าขายให้กับทั้งสองชาติได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก โปรตุเกสก็ได้รับความไว้วางใจจากเหล่าชาติตะวันออก อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนท่าเรือที่มีประสิทธิภาพในคีวชู ได้เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับโปรตุเกสตลอดจนบรรดาเจ้าเมืองในคีวชู ที่คาดหวังผลประโยชน์จากปริมาณการค้าขายที่มากขึ้น

ขณะเดียวกัน เหล่ามิชชันนารีคณะเยสุอิตจากราชอาณาจักรนาวาร์ นำโดยบาทหลวงฟรันซิสโก คาเบียร์ ก็ได้เดินทางมาถึงคาโงชิมะ หมู่บ้านทางตอนใต้ของคีวชู ในปี 1549 และเริ่มการเผยแผ่คำสอนของพระคริสตเจ้าไปทั่วเกาะญี่ปุ่น ผู้ติดตามของบาทหลวงคาเบียร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการที่ไดเมียวจำนวนมากเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ หนึ่งในนั้นคือไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะซึ่งได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากส่วนแบ่งทางการค้า จากการที่เขานับถือศาสนาคริสต์อย่างลับ ๆ โดยในปี 1569 โอมูระได้รับอนุญาตจากเบื้องบนให้จัดตั้งท่าเรือสำหรับเรือโปรตุเกสในนางาซากิ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 1571 โดยท่าเรืออยู่ภายใต้การกำกับของคณะเยสุอิต กัสปาร์ วีเลลาร์ และเรือตรีทริสเตา วาซ เดอ เวกา ผู้ว่าการแห่งมาเก๊า โดยการช่วยเหลือส่วนตัวจากโอมูระ

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

การคมนาคม

รถไฟระหว่างเมือง โดย คีวชู
  • สายหลักนางาซากิ (ที่สถานี: นางาซากิ และ อูรากามิ)
รถรางในเมือง
  • รถรางไฟฟ้านางาซากิ (Nagasaki Electric Tramway)
อากาศยาน
  • ท่าอากาศยานนางาซากิ

เมืองพี่น้อง

นครนางาซากิมีเมืองพี่น้อง ดังนี้

  • ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
  • เซนต์หลุยส์ สหรัฐ (1972)
  • เซนต์พอล สหรัฐ (1955)
  • ดุปนิตซา ประเทศบัลแกเรีย
  • ซังตูส ประเทศบราซิล (1972)
  • ฝูโจว ประเทศจีน (1980)
  • มิดเดิลบืร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์ (1978)
  • โปร์ตู ประเทศโปรตุเกส (1978)
  • Vaux-sur-Aure ประเทศฝรั่งเศส (2005)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
  • เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอังกฤษ)
  • นางาซากิยังมีสารกัมมันตรังสีอีกไหม? – ไม่ พร้อมคำอธิบาย
  • นางาซากิหลังระเบิดนิวเคลียร์ – interactive aerial map
  • Nuclear Files.org เก็บถาวร 2007-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์และการเมืองที่แสดงถึงการทิ้งระเบิดปรมาณู
  • สมาพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนางาซากิ
  • สมาคมส่งเสริมสินค้านางาซากิ
  • ข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้อาศัยชาวต่างชาติ ผลิตโดย Nagasaki International Association
  • ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ นางาซากิ ที่โอเพินสตรีตแมป

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: นางาซากิ by Wikipedia (Historical)


Langue des articles



ghbass

Quelques articles à proximité

Non trouvé