Aller au contenu principal

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 4


งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 4


งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 4 เป็นการมอบรางวัลสำหรับภาพยนตร์ที่เข้าฉายตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 งานจัดขึ้นที่ Sala D'Oro โรงแรม Biltmore ลอสแอลเจลลิส

รางวัล

Best Motion Picture of the Year

  • Cimarron (1931)

Best Actor

  • Lionel Barrymore - A Free Soul (1931)

Best Actress

  • Marie Dressler - Min and Bill (1930)

Best Art Direction

  • Max Ree - Cimarron (1931)

Best Cinematography

  • Floyd Crosby - Tabu (1931)

Best Director

  • Norman Taurog - Skippy (1931)

Outstanding Production

  • RKO Radio Pictures - Cimarron (1931)

Best Sound Recording

  • Paramount Publix Studio Sound Department

Best Writing (Adaptation)

  • Howard Estabrook - Cimarron (1931)

Best Writing (Original Story)

  • John Monk Saunders - The Dawn Patrol (1930)

Best Scientific or Technical Award (Class I)

  • Electrical Research Products, Inc.
  • RCA-Photophone, Inc.
  • RKO Radio Pictures, Inc.

สำหรับ อุปกรณ์บันทึกเสียงชนิดตัดเสียงรบกวน

  • DuPont Film Manufacturing Corp.
  • Eastman Kodak Company

สำหรับ ภาพยนตร์ช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic film) ที่ละเอียดมาก

Best Scientific or Technical Award (Class II)

  • Fox Film Corp. สำหรับ ประสิทธิภาพของการถ่ายภาพแบบหลายส่วน

Best Scientific or Technical Award (Class III)

  • Electrical Research Products, Inc. สำหรับ moving coil microphone transmitters
  • RKO Radio Pictures, Inc. สำหรับ reflex type microphone concentrators
  • RCA-Photophone, Inc. สำหรับ ribbon microphone transmitters

แหล่งข้อมูลอื่น

  • งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 4 เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่เว็บไซต์ IMDb

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 4 by Wikipedia (Historical)


บอบบี ฟิชเชอร์


บอบบี ฟิชเชอร์


บ็อบบี ฟิชเชอร์ หรือ โรเบิร์ต เจมส์ ฟิชเชอร์ (อังกฤษ: Robert James Fischer; 9 มีนาคม พ.ศ. 2486 — 17 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นนักหมากรุกชาวอเมริกันเชื้อสายยิว-เยอรมัน ที่มีพรสวรรค์และอุทิศตัวให้กับเกมหมากรุก จนถึงระดับที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักหมากรุกที่เก่งที่สุดตลอดกาล. บ็อบบี ฟิชเชอร์ เคยเป็นทั้งแชมป์หมากรุกอเมริกา และแกรนด์มาสเตอร์หมากรุกที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมา (นับถึงช่วงเวลานั้น) ฟิชเชอร์ได้ฉายแววความอัจฉริยะในทักษะหมากรุกของตนตั้งแต่อายุยังน้อย. เกมที่ฟิชเชอร์เล่นชนะ โดนัล เบิร์น (Donald Byrne) ในปี ค.ศ. 1956 ในขณะที่ฟิชเชอร์อายุได้เพียง 13 ปี ได้รับการขนานนามว่าเป็น "เกมหมากรุกแห่งศตวรรษ" (Game of the Century) นอกจากนี้ บ็อบบี ฟิชเชอร์ ยังเป็นชาวอเมริกันเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นแชมป์โลกหมากรุกสากลอย่างเป็นทางการ (ก่อนหน้านี้มีเพียงนักหมากรุกอัจฉริยะชาวอเมริกันชื่อ พอล มอร์ฟี ที่เคยถูกยกย่องให้เป็นแชมป์หมากรุกโลกอย่างไม่เป็นทางการ ในระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง ค.ศ. 1862) โดยเป็นฝ่ายชนะโบริส สปัสสกี อดีตแชมป์โลกชาวโซเวียตในการแข่งขันที่เรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เขาเป็นแชมป์โลกระหว่างปี พ.ศ. 2515 ถึง 2518. แมตช์แข่งขันชิงตำแหน่งแชมป์โลกระหว่าง บ็อบบี ฟิชเชอร์ และ โบริส สปัสสกี เป็นหนึ่งในเกมหมากรุกที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีบทบาทในการยกระดับกีฬาหมากรุกให้กลายเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง

ในบั้นปลายชีวิต บ็อบบี ฟิชเชอร์ กลายเป็นบุคคลที่เก็บตัวและมีอาการป่วยทางจิต โดยหมกมุ่นกับทฤษฎีสมคบคิดว่ายิวจะยึดครองโลก จนกระทั่งกลายเป็นผู้ฝักใฝ่ในลัทธิต่อต้านอเมริกัน และยังเผยแพร่ความคิดเห็นในทางเหยียดและต่อต้านยิว (ถึงแม้มารดาของเขาจะเป็นยิว) จนกระทั่งถูกเพิกถอนพาสปอร์ตอเมริกัน และถูกควบคุมตัวโดยทางการญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายเดือนในฐานะที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ และใช้พาสปอร์ตอเมริกันที่ถูกระงับแล้ว

ในปี พ.ศ. 2548 ฟิชเชอร์ ได้สัญชาติไอซ์แลนด์ เขาเดินทางไปใช้ชีวิตที่ไอซ์แลนด์กระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่โรงพยาบาลแลนด์สปิตาลิในเมืองเรคยาวิกด้วยภาวะไตวาย

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • บอบบี ฟิชเชอร์ player profile at Chessgames.com

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: บอบบี ฟิชเชอร์ by Wikipedia (Historical)


งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83


งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83


งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83 เป็นงานที่จะมอบรางวัลสำหรับภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปีค.ศ. 2009 จัดขึ้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ในโกดักเธียเตอร์ ฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย จะออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง ABC และถ่ายทอดสดไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (ถ่ายทอดสดทางช่อง ทรูอินไซด์) และในปีนี้ยังได้ เจมส์ ฟรานโก และ แอนน์ แฮททาเวย์ มาเป็นพิธีกรในงานด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของทั้งสองคน

ภาพยนตร์เรื่อง The King's Speech (ประกาศก้องจอมราชา) เป็นภาพยนตร์ที่คว้ารางวัลไปมากที่สุดในปีนี้ ทั้งหมด 4 รางวัล และล้วนเป็นรางวัลสำคัญทั้งสิน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม(ทอม ฮูเปอร์), นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม(คอลิน เฟิร์ธ) และ บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่อง Inception (จิตพิฆาตโลก) ที่ได้รับไป 4 รางวัลเช่นเดียวกัน ส่วนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่ได้รับรางวัล ได้แก่ The Social Network (เดอะ โซเชี่ยล เน็ตเวิร์ค) ได้รับ 3 รางวัล, อลิซผจญแดนมหัศจรรย์, The Fighter (2 แกร่งหัวใจเกินร้อย) และ ทอย สตอรี่ 3 ได้รับรางวัลไปเรื่องละ 2 รางวัล และ Black Swan (แบล็ค สวอน), In a Better World, Inside Job และ The Wolfman ได้ไปอย่างละ 1 รางวัล ส่วนในประเภทภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลได้แก่ God of Love, The Lost Thing และ Strangers No More


ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัล

รายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัล เรียงชื่อตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ สำหรับภาพยนตร์ที่มีการกำหนดชื่อภาษาไทยจะมีการวงเล็บไว้ข้างท้ายชื่อ

รางวัลออสการ์เกียรติยศ

  • Kevin Brownlow
  • ฌอง ลุค์ โกดาด์
  • อีไล วอลลัค

รางวัลอนุสรณ์ เออร์วิง จี. ธาลเบิร์ก

  • Francis Ford Coppola

ภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อมากกว่าหนึ่งรางวัล

  • สิบสอง: ประกาศก้องจอมราชา
  • สิบ: True Grit
  • แปด: จิตพิฆาตโลก และ เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก
  • เจ็ด: 2 แกร่งหัวใจเกินร้อย
  • หก: 127 Hours
  • ห้า: Black Swan and ทอย สตอรี่ 3
  • สี่: The Kids Are All Right and Winter's Bone
  • สาม: อลิซผจญแดนมหัศจรรย์
  • สอง: ชีวิตสวยด้วยใจแกร่ง, Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 and อภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกร

ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลมากกว่าหนึ่งรางวัล

  • สี่: จิตพิฆาตโลก และ ประกาศก้องจอมราชา
  • สาม: เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก
  • สอง: อลิซผจญแดนมหัศจรรย์, 2 แกร่งหัวใจเกินร้อย และ ทอย สตอรี่ 3
Collection James Bond 007

อ้างอิง


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83 by Wikipedia (Historical)


สมาคมสตรีผู้สื่อข่าวภาพยนตร์


สมาคมสตรีผู้สื่อข่าวภาพยนตร์


สมาคมสตรีผู้สื่อข่าวภาพยนตร์ (อังกฤษ: Alliance of Women Film Journalists, คำย่อ AWFJ) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2006 จากฐานในนิวยอร์กซิตี้ สหรัฐอเมริกา ซึ่งอุทิศตนเพื่อสนับสนุนการทำงานโดยสตรีและเกี่ยวกับสตรีในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ . AWFJ ประกอบด้วยนักวิจารณ์ภาพยนตร์หญิง ผู้สื่อข่าวหญิง และนักเขียนหญิงทางด้านสารคดีภาพยนตร์ ที่ทำงานในสายสิ่งพิมพ์ สายวิทยุและโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ จำนวน 76 คน สถาบันภาพยนตร์อังกฤษอธิบายถึง AWFJ ว่าเป็นองค์การที่เก็บรวบรวมบทความ (ฐานที่สหรัฐอเมริกาเป็นหลัก) โดยสมาชิก และให้รางวัลประจำปี และ "สนับสนุนภาพยนตร์โดยสตรีและเกี่ยวกับสตรี".

รางวัลและผู้ได้รับการเสนอชื่อ

รางวัล EDA

เริ่มตังแต่ปี ค.ศ. 2007 AWFJ ได้มอบรางวัลภาพยนตร์ที่ดีที่สุด (และที่แย่ที่สุด) ในภาพยนตร์โดยวิธีการโหวตจากสมาชิก รางวัลเรียกว่า EDA เพื่อเป็นเกียรติแก่มารดาของผู้ก่อตั้ง AWFJ คือ Jennifer Merin ซึ่งก็คือ นักแสดง Eda Reiss Merin (31 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 - 31 มีนาคม ค.ศ. 1998) และ EDA ยังเป็นคำย่อมาจาก "Excellent Dynamic Activism" ด้วย   รางวัลนี้ได้รับการเสนอข่าวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยมีแหล่งข่าวของสื่อกระแสหลักหลายแห่ง ได้แก่   TIME, USA Today, and Variety, และยังมีรายชื่อในรีวิวรางวัลภาพยนตร์ของ The New York Times ด้วย ในปี 2007 AWFJ ได้เผยแพร่รายชื่อภาพยนตร์ Top 100 Films List เพื่อการตอบโต้กับ 100 ปี 100 รายชื่อภาพยนตร์ที่จัดทำโดยสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน (AFI)  AWFJ ได้สร้างรายชื่อนั้นเพื่อดูว่าสมาชิกจะมีรายชื่อที่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญจาก AFI หรือไม่

กลุ่มรางวัล

นอกเหนือจากรางวัลความสำเร็จ EDA Best of Awards Awards ที่มอบให้โดยไม่คำนึงถึงเพศแล้ว ยังมีรางวัล EDA Female Focus Awards และรางวัล EDA Special Mention Awards

EDA Best of Awards Awards

EDA Female Focus Awards

EDA Special Mention Awards

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์ทางการ

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: สมาคมสตรีผู้สื่อข่าวภาพยนตร์ by Wikipedia (Historical)