Aller au contenu principal

สฟาลบาร์


สฟาลบาร์


สฟาลบาร์ หรือ สฟาลบาร์ด (นอร์เวย์: Svalbard, ภาษานอร์เวย์ถิ่นเมืองภาคตะวันออก: [ˈsvɑ̂ːɫbɑr] ( ฟังเสียง)) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์กับขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์บาร์เกิน บีเยอเนอยา และฮูเปิน

แรกเริ่ม สฟาลบาร์ได้ถูกใช้เป็นฐานล่าวาฬในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 หลังจากนั้นหมู่เกาะดังกล่าวได้ถูกปล่อยร้าง การทำเหมืองถ่านหินเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และชุมชนถาวรหลายแห่งได้รับการจัดตั้งขึ้น สนธิสัญญาสฟาลบาร์ ใน ค.ศ. 1920 เป็นการรับรองอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะดังกล่าว และพระราชบัญญัติสฟาลบาร์ ใน ค.ศ. 1925 กำหนดให้สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ นอกจากนี้ สฟาลบาร์ยังได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีและเขตปลอดทหาร การวิจัยและการท่องเที่ยวได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมรองที่สำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ผู้ว่าราชการสฟาลบาร์ เก็บถาวร 2005-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  • สฟาลบาร์ในเดอะเวิลด์แฟกต์บุกของซีไอเอ เก็บถาวร 2012-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)


Text submitted to CC-BY-SA license. Source: สฟาลบาร์ by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)


ลองเยียร์เบียน


ลองเยียร์เบียน


ลองเยียร์เบียน (นอร์เวย์: Longyearbyen) เป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางการบริหารของสฟาลบาร์ ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศนอร์เวย์ มีประชากร 2,040 คนในปี ค.ศ. 2008 เมืองนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาล็องยีร์ดาเลิน และเป็นที่ตั้งของสภาชุมชนลองเยียร์เบียน สำนักงานเทศบาล ท่าเรือ มหาวิทยาลัย ท่าอากาศยาน โรงเรียน และคริสตจักร

ประชากร

ใน พ.ศ. 2557 ลองเยียร์เบียนมีประชากร 2,144 คน กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวนอร์เวย์จากทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจากเทศมณฑลนูลันและเทศมณฑลทรุมส์ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากร ประมาณ 300 คน(ร้อยละ 16) ไม่มีสัญชาตินอร์เวย์ โดยมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดจากประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ไทย สวีเดน รัสเซีย และยูเครน

ใน พ.ศ. 2557 กลุ่มคนไทยจำนวน 120 คนเป็นกลุ่มสัญชาติที่ใหญ่ที่สุดรองจากนอร์เวย์ ใน พ.ศ. 2549 มีคนไทยเพียง 60 คน คนไทยมาที่นี่ครั้งแรกโดยติดตามสามีมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970

สภาพอากาศ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Arlov, Thor B. (1994). A short history of Svalbard. Oslo: Norwegian Polar Institute. ISBN 82-90307-55-1.
  • Holm, Kari (1999). Longyearbyen – Svalbard: historisk veiviser (ภาษานอร์เวย์). ISBN 82-992142-4-6.
  • Norwegian Mapping Authority (1990). Sailing directions, travellers' guide, Svalbard and Jan Mayen. Den norske los. ISBN 82-90653-06-9.
  • Tjomsland, Audun; Wilsberg, Kjell (1996). Braathens SAFE 50 år: Mot alle odds (ภาษานอร์เวย์). Oslo. ISBN 82-990400-1-9.
  • Umbreit, Andreas (2005). Guide to Spitsbergen. Bucks: Bradt. ISBN 1-84162-092-0.
  • Stange, Rolf (2012). Spitsbergen – Svalbard. A complete guide around the arctic archipelago (ภาษาอังกฤษ). Rolf Stange. ISBN 978-3-937903-14-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สภาชุมชนลองเยียร์เบียน (ในภาษานอร์เวย์)
Collection James Bond 007

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: ลองเยียร์เบียน by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)


เขตเศรษฐกิจจำเพาะ


เขตเศรษฐกิจจำเพาะ


เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (อังกฤษ: exclusive economic zone; EEZ) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เป็นพื้นที่ทะเลซึ่งรัฐมีสิทธิพิเศษเหนือเขตดังกล่าวในการสำรวจและใช้ทรัพยากรทางทะเล รวมถึงการผลิตพลังงานจากน้ำและลม เขตเศรษฐกิจจำเพาะครอบคลุมพื้นที่ถัดจากอาณาเขตบนฝั่งไปสองร้อยไมล์ทะเล ในการใช้คำดังกล่าวบางครั้ง อาจรวมถึงน่านน้ำอาณาเขตและไหล่ทวีปที่เลยเขตจำกัด 200 ไมล์ทะเลไปด้วย

การจำกัดความ

โดยทั่วไปแล้ว เขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐกินอาณาบริเวณ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) นับจากเส้นฐานชายฝั่ง ข้อยกเว้นต่อกฎดังกล่าวคือ เมื่อเขตเศรษฐกิจจำเพาะทับซ้อนกัน นั่นคือ เส้นฐานชายฝั่งของประเทศสองประเทศที่อยู่ห่างจากกันไม่เกิน 400 ไมล์ทะเล (740 กิโลเมตร) เมื่อเกิดการทับซ้อนกันขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดพรมแดนทางทะเลที่แท้จริงของทั้งสองประเทศเอง โดยทั่วไปแล้ว ทุกจุดภายในพื้นที่ทับซ้อนมักจะเป็นสิทธิ์ของรัฐที่อยู่ใกล้ที่สุด

เขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐเริ่มตั้งแต่ปลายของเขตน่านน้ำและลากออกไปเป็นระยะทาง 200 ไมล์ทะเลจากฐานชายฝั่ง และเขตเศรษฐกิจจำเพาะยังรวมไปถึงพื้นที่ที่อยู่ใกล้กัน รัฐยังมีสิทธิ์เหนือพื้นดินใต้ทะเลของสิ่งที่เรียกว่าไหล่ทวีปไปถึง 350 ไมล์ทะเล (648 กิโลเมตร) นับจากเส้นฐานชายฝั่ง ถัดจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไปอีก แต่พื้นที่ที่รวมด้วยนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คำจำกัดความทางกฎหมายของไหล่ทวีป ไม่เหมือนกันกับความหมายทางภูมิศาสตร์โดยตรง เพราะมันยังรวมไปถึงส่วนทวีปที่นูนขึ้นและพื้นที่ลาดเอียง และพื้นดินใต้ทะเลภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะด้วย

อันดับตามพื้นที่

รายการนี้รวมถึงดินแดนในภาวะพึ่งพิง (รวมถึงดินแดนที่ไม่มีคนอาศัยอยู่) ภายในรัฐของพวกเขา แต่ไม่รวมการอ้างสิทธิ์ต่าง ๆในแอนตาร์กติกา โดยตัวอักษร EEZ+TIA คือ เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) รวมกับ พื้นที่ภายในทั้งหมด (TIA) ซึ่งรวมถึงแผ่นดินอาณาเขตและน่านน้ำภายใน

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Interactive map at MarineRegions.org, showing boundaries and disputes
  • United Nations Convention on the Law of the Sea – Part V
  • Sea Around Us Project – View the EEZ of all countries (note that this website does not distinguish between the territorial seas and the EEZs, therefore it tends to overstate the EEZ areas. See: EEZ AREA MEASURE)
  • The USA zone since 1977
  • GIS data: VLIZ.be
  • Foreign Military Activities in Asian EEZs: Conflict Ahead? by Mark J. Valencia (May 2011)
  • EEZ Management
Collection James Bond 007

Text submitted to CC-BY-SA license. Source: เขตเศรษฐกิจจำเพาะ by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)






Text submitted to CC-BY-SA license. Source: by Wikipedia (Historical)


INVESTIGATION